วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ผลงานผ้าทอที่นับเป็นงานที่ทอยากที่สุดของแม่แจ่มคือ
สิ้นตีนจก (อ่าน “สิ้นตี๋นจัก”)ซึ่งนิยมเรียก เป็นภาษาไทยกลางว่า “ซิ่นตีนจก”
เทคนิคการจกให้เกิดเป็นลวดลายบนผืนผ้า กระทําโดยใช้ขนเม่นหรือไม้ สอดนับด้ายเส้นยืน
แล้วใช้ด้ายเส้นพุ่งพิเศษจกหรือล้วงสอดสลับด้ายสีต่างๆ ลงไป ทําให้เกิดเป็นลวดลาย 
คล้ายการปักลงบนผืนผ้า เทคนิคการจกของแม่แจ่มเป็นการจกทางด้านหลังของลาย โดยคว่ําลายด้านหน้า ลงกับกี่ทอผ้า ผู้ทอสามารถผูกเงื่อนฝ้านตรงด้านหลังของลายได้สะดวกและแน่นหนากว่า ทําให้ผลงานมี ความละเอียดประณีตขึ้น



ซิ่นตีนจกนี้สตรีชาวแม่แจ่มนิยมนุ่งในโอกาสพิเศษ เช่น ในเทศกาลงานบุญหรือง งานพอยหลวง 
(อ่าน “ปอยหลวง”) ซิ่นตีนจกที่ทอกันขึ้นในแต่ละท้องถิ่นจะมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันออกไป
ไม่ว่าจะเป็นในแง่ลวดลาย สีสันและความงดงาม ซิ่นตีนจกจากอําเภอแม่แจ่มก็เช่นกัน
มีลักษณะอันเป็นเอกลักษณ์โดดเด่น แตกต่าง จากแหล่งผลิตอื่นๆ
รวมทั้งยังมีบทบาทเกี่ยวข้องกับชีวิตของสตรีแม่แจ่มตั้งแต่เกิดจนถึงเวลาตายด้วย สตรี แม่แจ่มทุกคนจะต้องมีซิ่นตีนจกอย่างน้อยก็คนละ 1 ผืน (ถ้าใครมีฐานะดีก็อาจมีมากถึง 20 ผืน)
เพื่อใช้นุ่ง ไปทําบุญและไปในงานเทศกาลสําคัญๆ เท่านั้น
ส่วนซิ่นที่ใช้นุ่งใส่ในชีวิตประจําวันจะใช้ซิ่นตีนดําหรือแดง แทน
เนื่องจากขั้นตอนในการทอซิ่นตีนจกแต่ละผืนนั้น ต้องใช้ความเพียรพยายามและใช้ระยะเวลาทําที่ ยาวนาน ผู้เป็นเจ้าของจึงทะนุถนอมเอาใจใส่ในการเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี
เพื่อจะได้แบ่งให้ลูกหลานเอาไว้ ใช้ต่อไป
รวมทั้งจะนําไปถวายเป็นทานแก่พระภิกษุสงฆ์เมื่อตนเองละจากโลกนี้ไปแล้ว โดยมีความเชื่อว่า บุญกุศลเหล่านี้จะส่งผลให้ผู้ตายได้มีซิ่นตีนจกใส่ในโลกหนึ่งด้วย
ลักษณะประเพณีความเชื่อเช่นนี้ชาวแม่ แจ่มยังคงยึดถือปฏิบัติกันมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความรัก ความผูกพันของสตรีแม่แจ่มกับงาน ศิลปหัตถกรรมชิ้นนี้
นอกจากนี้สตรีแม่แจ่มสูงอายุส่วนใหญ่มักจะนิยมนุ่งซิ่นตีนจกกลับด้านให้ลวดลาย
ด้านหน้าจกไว้ข้างใน และส่วนด้านหลังตีนจกเอาไว้ด้านนอก
ทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษาลวดลายผ้าตีนจกไว้ ไม่ให้เก่าหรือสีซีดลงเร็วเกินไป
ซึ่งการนุ่งซิ่นตีนจกกลับด้านนี้ยังคงความงดงามและแปลกตาไปอีกแบบ หนึ่ง




Cradit
-http://www.oknation.net/blog/faab/2013/02/04/entry-2
ผ้าที่ผูกพันกับวิถีชีวิต..

ตระกูลช่างทอตีนจกสืบเชื้อสายมาจากพญาเขื่อนแก้ว พญาไจย และวงศ์วานที่ได้อพยพเข้ามา
อยู่บ้านอาฮาม อำเภอแม่แจ่ม 
ในอดีต ผ้าตีนจกแม่แจ่มที่ทอด้วยดิ้นเงินดิ้นทองจะผลิตขึ้นเพื่อส่งส่วยเจ้าเชียงใหม่
โดยทางคุ้มเจ้าเชียงใหม่ส่งดิ้นเงินดิ้นทองมาให้และห้ามชาวบ้าน “ ไพร่ ”
นุ่งตีนจกที่ทอด้วยดิ้นเงินดิ้นทอง ให้ใช้ฝ้ายอย่างเดียว
ผ้าตีนจกถือเป็นสมบัติล้ำค่าและเป็นสิ่งบ่งชี้ฐานะทางสังคม ผู้หญิงจะใช้นุ่งไปวัดตอนบุญใหญ่ 
เช่นปอยหลวง งานเป็งต่างๆ วันศีลหลวง หญิงผู้น้อยใช้ไหว้แม่สามีเมื่อแต่งงานใหม่ ผู้หญิงคนแก่
เก็บไว้นุ่งให้ตัวเองตอนตาย 1 ผืน ให้ลูกหลานทำบุญอุทิศให้ตัวเองอีก 1 ผืน 
เอาตีนจกใส่สังฆทานให้พ่ออาจารย์(มัคคทายก) 1 ผืน 
เพราะเชื่อว่าอาจารย์เวณตานบอกทางไปสู่สวรรค์
ราว พ.ศ. 2506 อิทธิพลทางวัฒนธรรมจากภายนอกเริ่มหลั่งไหลเข้ามา
ทำให้วิถีชีวิตของผู้คนเริ่มเปลี่ยนไป
หญิงแม่แจ่มเริ่มไม่นิยมทอและนุ่งซิ่นตีนจก หันไปทำงานอย่างอื่นที่ง่ายกว่าแทน 
ทำให้ผ้าตีนจกแม่แจ่มเกือบจะสูญไป จนปี พ.ศ. 2517 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรชาวแม่แจ่มเป็นครั้งแรก 
ทรงโปรดเกล้าให้คนแม่แจ่มฝึกทอตีนจกแบบประยุกต์ใช้ฝ้ายที่ชาวบ้านเรียกว่า “ ไหมประดิษฐ์ ” 
ทำให้ทอได้เร็วขึ้น ภายหลังจากนั้น ล้านนาเกิดการตื่นตัวแต่งกายย้อนยุค ผู้หญิงนุ่งซิ่นโดยเฉพาะซิ่นตีนจกแบบโบราณ ตีนจกแม่แจ่มจึงถูกกล่าวขวัญเฟื่องฟูขึ้นอีกครั้ง และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา 
มีการจัด “ งานเทศกาลผ้าตีนจกแม่แจ่ม ” ขึ้นในอำเภอแม่แจ่มทุกปี 
ช่วงเวลานั้นผู้หญิงแม่แจ่มจะแต่งกายงดงามด้วยผ้าซิ่นตีนจกมาร่วมกันย้อนสู่วิถีชีวิตแบบวันวาน
การที่ “ผ้าตีนจกแม่แจ่ม” ได้รับการอนุรักษ์ไว้จนถึงปัจจุบัน ทำให้ชาวแม่แจ่ม ต่างได้ตระหนักถึงความวิริยะและอุตสาหะในการสร้างสรรค์ของบรรพบุรุษ ที่ส่งต่อสืบทอดมรดกทางหัตถกรรมอันล้ำค่า
มิให้สูญหายไปตามกาลเวลา 
เดือนกุมภาพันธ์ 2551 กระทรวงวัฒนธรรมโดยสำนักงานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ ได้นำผ้าตีนจกแม่แจ่มไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ 
" คือเป็นมรดกทางภูมิปัญญาที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ "
เดือน มกราคม 2555 กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้อนุญาตให้ใช้ ตรา G.I.ติดตีนจกที่ผ่านการตรวจสอบ จากคณะกรรมการตรวจสอบภายในอำเภอม่แจ่ม ผลดีที่เกิดขึ้นจากการที่ผ้าตีนจกแม่แจ่มได้รับขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ 
คือได้รับการคุ้มครองให้ผ้าตีนจกแม่แจ่มเป็นมรดกอันล้ำค่าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของคนแม่จ่ม
ได้รับการประชาสัมพันธ์ไปทั่วประเทศและต่างประเทศโดยข้อมูลของ G.I.
ได้รับความเชื่อถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้ว
ช่างทอได้รับเงินค่าจ้างทอเพิ่มขึ้นเกิน ครึ่งจากของเดิมที่เคยได้ทำให้ช่วยเหลือครอบครัวได้มากขึ้น
ช่างทอที่ได้ทิ้งกี่ทอผ้าไปประกอบอาชีพอื่นได้หวนกลับมาทอตีนจกดังเดิม
มีนักศึกษา นักวิชาการและกลุ่มบุคคลภายนอกเข้ามาศึกษาเรียนรู้เรื่องผ้าตีนจกมากขึ้น
ผลที่ตามมาคือรายได้ของผู้ผลิต ผู้ขาย
ได้เพิ่มขึ้นตลอดถึงรายได้ของผู้ประกอบการให้เช่าที่พักและร้านอาหาร
สรุปคือทำให้เงินหมุนเวียนในแม่แจ่มดีขึ้น




Cradit
-http://www.qsds.go.th/silkcotton/k_21.php

ซิ่นคือ..

ซิ่น (ลาว: ສິ້ນ ) เป็นผ้านุ่งของผู้หญิง มีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามท้องถิ่น 
ทั้งขนาด การนุ่ง และลวดลายบนผืนผ้า โดยมีการสวมใส่ในประเทศลาวและประเทศไทย โดยเฉพาะทางภาคเหนือและภาคอีสานของไทย
ผ้าซิ่นนับเป็นความภาคภูมิใจอย่างหนึ่งของหญิงไทย ในสมัยโบราณ การทอผ้าเป็นงานในบ้าน 
ลูกผู้หญิงมีหน้าที่ทอผ้า แม่จะสั่งสอนให้ลูกสาวฝึกทอผ้าจนชำนาญ แล้วทอผ้าผืนงามสำหรับใช้ในโอกาสพิเศษ เช่น งานแต่งงาน งานบวช หรืองานบุญประเพณีต่าง ๆ การนุ่งผ้าซิ่นของผู้หญิงจึงเป็นเหมือนการแสดงฝีมือของตนให้ปรากฏ ผ้าซิ่นที่ทอได้สวยงาม มีฝีมือดี จะเป็นที่กล่าวขวัญและชื่นชมอย่างกว้างขวาง
ผ้าซิ่นของไทยมักจะแบ่งได้เป็นสองลักษณะ อย่างแรกคือ ผ้าซิ่นสำหรับใช้ทั่วไป มักจะไม่มีลวดลาย 
ทอด้วยผ้าฝ้ายหรือด้ายโรงงาน (ในสมัยหลัง) อาจใส่ลวดลายบ้างเล็กน้อยในเนื้อผ้า อีกอย่างหนึ่ง 
ผ้าซิ่นสำหรับใช้ในโอกาสพิเศษมักจะทอด้วยความประณีตเป็นพิเศษ มีการใส่ลวดลาย สีสันงดงาม 
และใช้เวลาทอนานนับแรมเดือน
ขนาดและลักษณะของผ้าซิ่นนั้นขึ้นกับฝีมือ รสนิยม ขนบการทอในแต่ละท้องถิ่น 
และยังขึ้นกับขนาดของกี่ทอด้วย การทอผ้าด้วยกี่หน้าแคบ จะได้ผ้าที่แคบ 
ผ้าซิ่นสำหรับใช้จริงจึงต้องนำมาต่อเป็นผืนให้กว้างขึ้น อย่างไรก็ตาม
ผ้าซิ่นในปัจจุบันจะทอด้วยกี่หน้ากว้าง ไม่ต้องต่อผืนอย่างในสมัยโบราณอีกต่อไป

Cradit
- http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99
ลักษณะผ้าตีนจกแม่แจ่ม





ผ้าตีนจกแม่แจ่ม หมายถึง ผ้าฝ้ายหรือผ้าไหมที่ทอและจกด้วยมืออย่างประณีตตามกรรมวิธีการทอและการจกแบบดั้งเดิมที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งเป็นมรดกทางหัตถกรรมที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาและผลิตในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ทำให้เกิดเป็นผ้าที่มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น









แม่ลาย ( ลวดลายหลัก ) ผ้าตีนจกแม่แจ่ม มี 11 ลาย ( แบบ ) ได้แก่ ลายหละกอนหลวง 
ลายเจียงแสนน้อย ลายขันเสี้ยนสำ ลายหงส์บี้ ลายหงส์ปล่อย ลายโกมฮูปนก ลายโกมหัวหมอน 
ลายขันสามเอว ลายขันเอวอู ลายกุดขอเบ็ด และลายนกกุม 

โดยช่างทอได้นำส่วนประกอบของแม่ลายหลักแต่ละลายไปประสมประสาน ทำให้เกิดลวดลายใหม่และเป็นที่นิยมอีกจำนวน 5 ลาย ได้แก่ ลายหละกอนหน้อย ลายหละกอนก๋าง ลายเจียงแสนหลวง 
ลายนาคกูม และลายนกนอน ทั้งนี้ยังคงรูปแบบลวดลายเดิมทั้งกระบวนการ วิธีการทอและลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของแม่แจ่ม ดังคำขวัญของอำเภอแม่แจ่มที่ว่า 

“ เที่ยวบ่อน้ำแร่ ล่องแพน้ำแจ่ม พักแรมน้ำตก ผ้าตีนจกยอดน้ำมือ ” 






Cradit
-http://hsp-mj.com/index.php?option=com_content&view=article&id=19&Itemid=26

วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ผ้าตีนจกแม่แจ่ม

อำเภอแม่แจ่มเป็นอำเภอเล็กๆ ตั้งอยู่ในหุบเขา และมีภูเขาล้อมรอบ ทิศตะวันออก 
ติดกับดอยอินทนนท์ มีลำน้ำแจ่มซึ่งเป็นลำน้ำสายหลักไหลผ่านตรงกลาง สองฝากฝั่งจะเป็นชุมชนและ
หมู่บ้านตั้งอยู่ตามเชิงเขา จากหมู่บ้านจะเป็นทุ่งนาจนถึงริมน้ำ 
นอกจากนี้ยังมีลำน้ำเล็กๆ ซึ่งเรียกตามชื่อหม่บ้านต่างๆที่ลำน้ำไหลผ่าน
เช่น น้ำแม่แรก น้ำแม่ปาน น้ำแม่อวม น้ำแม่ศึก น้ำแม่วาก น้ำแม่มะลอ ฯลฯ 
โดยลำน้ำทุกสายจะไหลลงลำน้ำม่แจ่ม วิถีชีวิตของคนแม่แจ่มส่วนใหญ่
จึงผูกพันกับการประกอบอาชีพทางเกษตรและงานทางศิลปหัตถกรรม 
โดยเฉพาะการทอผ้าตีนจกอันคงเอกลักษณ์ในวิถีชีวิต 
ประเพณีวัฒนธรรม ซึ่งสืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษ ด้วยลักษณะดังกล่าว 
จึงทำให้ช่างทอตีนจกแม่แจ่ม มีจิตใจเยือกเย็น ยิ้มแย้มแจ่มใส 
สร้างสรรค์ผลงานที่มีความสวยงามโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น 



จุดกำเนิดผ้าตีนจกแม่แจ่มเท่าที่สืบค้นพบอยู่ที่บ้านอาฮาม หมู่ที่ 4ตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่มจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นที่ตั้งบ้านเรือนของพญาเขื่อนแก้ว พญาไจย 
ผู้ปกครองเมืองแจ่มสมัยนั้น ทั้งสองท่านได้เดินทางจากเชียงรายเป็นเชื้อเครือ 
ของพญาผู้ปกครองเชียงใหม่ นอกจากนั้นยังมีบริวารที่เกี่ยวข้องติดตามมา 
อีกหลายคนทั้งจากเชียงแสนและลำปาง 

ปัจจุบันช่างทอตีนจกแม่แจ่มสายตระกูลดั้งเดิมตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่กระจัดกระจายตามหมู่บ้านต่างๆ เช่น บ้านอาฮาม บ้านทัพ บ้านยางหลวง บ้านไร่ บ้านท้องฝาย บ้านเหล่าป่าก่อ บ้านห้วยไห บ้านไหล่หิน บ้านนาเรือน บ้านเหล่า บ้านผานัง บ้านแม่ปาน บ้านสองธาร 
บ้านต่อเรือ บ้านกองกาน บ้านเจียง บ้านพร้าวหนุ่ม บ้านแม่ศึก บ้านสบลอง บ้านแม่นาจร 

โดยช่างทอเหล่านี้ยังคงรักษาศิลปะการทอตีนจกที่เป็นเอกลักษณ์ 
ของแม่แจ่มไว้ได้อย่างเหนียวแน่น


Cradit - http://woodsurachai.webiz.co.th/%E0%B8%9C%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%81/