วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ลักษณะผ้าตีนจกแม่แจ่ม





ผ้าตีนจกแม่แจ่ม หมายถึง ผ้าฝ้ายหรือผ้าไหมที่ทอและจกด้วยมืออย่างประณีตตามกรรมวิธีการทอและการจกแบบดั้งเดิมที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งเป็นมรดกทางหัตถกรรมที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาและผลิตในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ทำให้เกิดเป็นผ้าที่มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น









แม่ลาย ( ลวดลายหลัก ) ผ้าตีนจกแม่แจ่ม มี 11 ลาย ( แบบ ) ได้แก่ ลายหละกอนหลวง 
ลายเจียงแสนน้อย ลายขันเสี้ยนสำ ลายหงส์บี้ ลายหงส์ปล่อย ลายโกมฮูปนก ลายโกมหัวหมอน 
ลายขันสามเอว ลายขันเอวอู ลายกุดขอเบ็ด และลายนกกุม 

โดยช่างทอได้นำส่วนประกอบของแม่ลายหลักแต่ละลายไปประสมประสาน ทำให้เกิดลวดลายใหม่และเป็นที่นิยมอีกจำนวน 5 ลาย ได้แก่ ลายหละกอนหน้อย ลายหละกอนก๋าง ลายเจียงแสนหลวง 
ลายนาคกูม และลายนกนอน ทั้งนี้ยังคงรูปแบบลวดลายเดิมทั้งกระบวนการ วิธีการทอและลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของแม่แจ่ม ดังคำขวัญของอำเภอแม่แจ่มที่ว่า 

“ เที่ยวบ่อน้ำแร่ ล่องแพน้ำแจ่ม พักแรมน้ำตก ผ้าตีนจกยอดน้ำมือ ” 






Cradit
-http://hsp-mj.com/index.php?option=com_content&view=article&id=19&Itemid=26

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น