ผ้าผูกพับกับวิถีชีวิต


ตระกูลช่างทอตีนจกสืบเชื้อสายมาจากพญาเขื่อนแก้ว พญาไจย และวงศ์วานที่ได้อพยพเข้ามา
อยู่บ้านอาฮาม อำเภอแม่แจ่ม
ในอดีต ผ้าตีนจกแม่แจ่มที่ทอด้วยดิ้นเงินดิ้นทองจะผลิตขึ้นเพื่อส่งส่วยเจ้าเชียงใหม่
โดยทางคุ้มเจ้าเชียงใหม่ส่งดิ้นเงินดิ้นทองมาให้และห้ามชาวบ้าน “ ไพร่ ”
นุ่งตีนจกที่ทอด้วยดิ้นเงินดิ้นทอง ให้ใช้ฝ้ายอย่างเดียว
ผ้าตีนจกถือเป็นสมบัติล้ำค่าและเป็นสิ่งบ่งชี้ฐานะทางสังคม ผู้หญิงจะใช้นุ่งไปวัดตอนบุญใหญ่
เช่นปอยหลวง งานเป็งต่างๆ วันศีลหลวง
หญิงผู้น้อยใช้ไหว้แม่สามีเมื่อแต่งงานใหม่
ผู้หญิงคนแก่เก็บไว้นุ่งให้ตัวเองตอนตาย 1 ผืน ให้ลูกหลานทำบุญอุทิศให้ตัวเองอีก 1 ผืน
เอาตีนจกใส่สังฆทานให้พ่ออาจารย์(มัคคทายก) 1 ผืน
เพราะเชื่อว่าอาจารย์เวณตานบอกทางไปสู่สวรรค์
ราว พ.ศ. 2506 อิทธิพลทางวัฒนธรรมจากภายนอกเริ่มหลั่งไหลเข้ามา
ทำให้วิถีชีวิตของผู้คนเริ่มเปลี่ยนไป
หญิงแม่แจ่มเริ่มไม่นิยมทอและนุ่งซิ่นตีนจก หันไปทำงานอย่างอื่นที่ง่ายกว่าแทน
ทำให้ผ้าตีนจกแม่แจ่มเกือบจะสูญไป จนปี พ.ศ. 2517 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรชาวแม่แจ่มเป็นครั้งแรก
ทรงโปรดเกล้าให้คนแม่แจ่มฝึกทอตีนจกแบบประยุกต์ใช้ฝ้ายที่ชาวบ้านเรียกว่า“ไหมประดิษฐ์ ”
ทำให้ทอได้เร็วขึ้น ภายหลังจากนั้น ล้านนาเกิดการตื่นตัวแต่งกายย้อนยุค ผู้หญิงนุ่งซิ่นโดยเฉพาะซิ่นตีนจกแบบโบราณ ตีนจกแม่แจ่มจึงถูกกล่าวขวัญเฟื่องฟูขึ้นอีกครั้ง
และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา
มีการจัด “งานเทศกาลผ้าตีนจกแม่แจ่ม” ขึ้นในอำเภอแม่แจ่มทุกปี
ช่วงเวลานั้นผู้หญิงแม่แจ่มจะแต่งกายงดงามด้วยผ้าซิ่นตีนจกมาร่วมกันย้อนสู่วิถีชีวิตแบบวันวาน
การที่ “ผ้าตีนจกแม่แจ่ม” ได้รับการอนุรักษ์ไว้จนถึงปัจจุบัน ทำให้ชาวแม่แจ่ม ต่างได้ตระหนักถึงความวิริยะและอุตสาหะในการสร้างสรรค์ของบรรพบุรุษ
ที่ส่งต่อสืบทอดมรดกทางหัตถกรรมอันล้ำค่ามิให้สูญหายไปตามกาลเวลา
เดือนกุมภาพันธ์ 2551 กระทรวงวัฒนธรรมโดยสำนักงานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ ได้นำผ้าตีนจกแม่แจ่มไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้
" คือเป็นมรดกทางภูมิปัญญาที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ "
เดือน มกราคม 2555 กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้อนุญาตให้ใช้ ตรา G.I.ติดตีนจกที่ผ่านการตรวจสอบ
จากคณะกรรมการตรวจสอบภายในอำเภอแม่แจ่ม
ผลดีที่เกิดขึ้นจากการที่ผ้าตีนจกแม่แจ่มได้รับขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
คือได้รับการคุ้มครองให้ผ้าตีนจกแม่แจ่มเป็นมรดกอันล้ำค่าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของคนแม่จ่ม
ได้รับการประชาสัมพันธ์ไปทั่วประเทศและต่างประเทศโดยข้อมูลของ G.I.
ได้รับความเชื่อถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้ว
ช่างทอได้รับเงินค่าจ้างทอเพิ่มขึ้นเกิน ครึ่งจากของเดิมที่เคยได้ทำให้ช่วยเหลือครอบครัวได้มากขึ้น
ช่างทอที่ได้ทิ้งกี่ทอผ้าไปประกอบอาชีพอื่นได้หวนกลับมาทอตีนจกดังเดิม
มีนักศึกษา นักวิชาการและกลุ่มบุคคลภายนอกเข้ามาศึกษาเรียนรู้เรื่องผ้าตีนจกมากขึ้น
ผลที่ตามมาคือรายได้ของผู้ผลิต ผู้ขาย
ได้เพิ่มขึ้นตลอดถึงรายได้ของผู้ประกอบการให้เช่าที่พักและร้านอาหาร
สรุปคือทำให้เงินหมุนเวียนในแม่แจ่มดีขึ้น






Cradit
-http://www.qsds.go.th/silkcotton/k_21.php



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น