วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ผลงานผ้าทอที่นับเป็นงานที่ทอยากที่สุดของแม่แจ่มคือ
สิ้นตีนจก (อ่าน “สิ้นตี๋นจัก”)ซึ่งนิยมเรียก เป็นภาษาไทยกลางว่า “ซิ่นตีนจก”
เทคนิคการจกให้เกิดเป็นลวดลายบนผืนผ้า กระทําโดยใช้ขนเม่นหรือไม้ สอดนับด้ายเส้นยืน
แล้วใช้ด้ายเส้นพุ่งพิเศษจกหรือล้วงสอดสลับด้ายสีต่างๆ ลงไป ทําให้เกิดเป็นลวดลาย 
คล้ายการปักลงบนผืนผ้า เทคนิคการจกของแม่แจ่มเป็นการจกทางด้านหลังของลาย โดยคว่ําลายด้านหน้า ลงกับกี่ทอผ้า ผู้ทอสามารถผูกเงื่อนฝ้านตรงด้านหลังของลายได้สะดวกและแน่นหนากว่า ทําให้ผลงานมี ความละเอียดประณีตขึ้น



ซิ่นตีนจกนี้สตรีชาวแม่แจ่มนิยมนุ่งในโอกาสพิเศษ เช่น ในเทศกาลงานบุญหรือง งานพอยหลวง 
(อ่าน “ปอยหลวง”) ซิ่นตีนจกที่ทอกันขึ้นในแต่ละท้องถิ่นจะมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันออกไป
ไม่ว่าจะเป็นในแง่ลวดลาย สีสันและความงดงาม ซิ่นตีนจกจากอําเภอแม่แจ่มก็เช่นกัน
มีลักษณะอันเป็นเอกลักษณ์โดดเด่น แตกต่าง จากแหล่งผลิตอื่นๆ
รวมทั้งยังมีบทบาทเกี่ยวข้องกับชีวิตของสตรีแม่แจ่มตั้งแต่เกิดจนถึงเวลาตายด้วย สตรี แม่แจ่มทุกคนจะต้องมีซิ่นตีนจกอย่างน้อยก็คนละ 1 ผืน (ถ้าใครมีฐานะดีก็อาจมีมากถึง 20 ผืน)
เพื่อใช้นุ่ง ไปทําบุญและไปในงานเทศกาลสําคัญๆ เท่านั้น
ส่วนซิ่นที่ใช้นุ่งใส่ในชีวิตประจําวันจะใช้ซิ่นตีนดําหรือแดง แทน
เนื่องจากขั้นตอนในการทอซิ่นตีนจกแต่ละผืนนั้น ต้องใช้ความเพียรพยายามและใช้ระยะเวลาทําที่ ยาวนาน ผู้เป็นเจ้าของจึงทะนุถนอมเอาใจใส่ในการเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี
เพื่อจะได้แบ่งให้ลูกหลานเอาไว้ ใช้ต่อไป
รวมทั้งจะนําไปถวายเป็นทานแก่พระภิกษุสงฆ์เมื่อตนเองละจากโลกนี้ไปแล้ว โดยมีความเชื่อว่า บุญกุศลเหล่านี้จะส่งผลให้ผู้ตายได้มีซิ่นตีนจกใส่ในโลกหนึ่งด้วย
ลักษณะประเพณีความเชื่อเช่นนี้ชาวแม่ แจ่มยังคงยึดถือปฏิบัติกันมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความรัก ความผูกพันของสตรีแม่แจ่มกับงาน ศิลปหัตถกรรมชิ้นนี้
นอกจากนี้สตรีแม่แจ่มสูงอายุส่วนใหญ่มักจะนิยมนุ่งซิ่นตีนจกกลับด้านให้ลวดลาย
ด้านหน้าจกไว้ข้างใน และส่วนด้านหลังตีนจกเอาไว้ด้านนอก
ทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษาลวดลายผ้าตีนจกไว้ ไม่ให้เก่าหรือสีซีดลงเร็วเกินไป
ซึ่งการนุ่งซิ่นตีนจกกลับด้านนี้ยังคงความงดงามและแปลกตาไปอีกแบบ หนึ่ง




Cradit
-http://www.oknation.net/blog/faab/2013/02/04/entry-2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น